ศึกษาและปฏิบัติ การประกอบ ติดตั้ง
ทดสอบ และตรวจซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์
แผงวงจรการสื่อสาร การติดตั้งโปรแกรม การจัดห้องซ่อม การรับ-ส่งงาน
และการประมาณราคา การทดสอบคุณภาพงายให้ได้มาตรฐาน
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
ส่วนประกอบของซอต์แวร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ระบบปฏิบัติการ
หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์
มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์
และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์
ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลสำรอง และเครื่องพิมพ์ จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
ให้
บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น
ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้
โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมี
การทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ คือระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดย
ปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ
จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น
โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี
ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี
จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าเอ็มเอสดอส (MS - DOS)หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่ง
ออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน
เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน
ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บน
ระบบใดระบบหนึ่ง
หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา
สองชุด โดย
มากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด
แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ
แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด
แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส
เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย
และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช
เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม
ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS - DOS)
ผู้
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ
เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อ
เตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที
ไมโครซอฟต์วินโดว์
ไมโครซอฟต์วินโดว์ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าวินโดว์ มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามและสามารถใช้ได้ง่าย เรียกระบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI (Graphic user Interface) ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์จะทำงานกับเมนู (menu)และรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน (icon)แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ดังรูป
แสดงไอคอนและเมนูบนระบบวินโดว์
โปรแกรมวิชวลเบสิค
ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดย
มีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์
เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ
จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้
รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็ว
และหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
โปรแกรมวิชวลเบสิค
ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มี
จุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็น
แบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว
หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น